การรีเซ็ตครั้งใหญ่ | ฟอรัมเศรษฐกิจโลก

ฟังดูเหมือนระบบเศรษฐกิจคอมพิวเตอร์เกิดข้อผิดพลาด และฟอรัมเศรษฐกิจโลกต้องการระดมผู้คนมาทำการรีเซ็ตครั้งใหญ่ โดยทำการชะล้างข้อมูลที่ผิดพลาดหรือเหตุการณ์เลวร้ายต่าง ๆ ทิ้งไป แล้วเริ่มต้นกันใหม่หมด เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะปกติหรือเข้าสู่สถานะเริ่มต้นใหม่ที่ปกติที่พร้อมจะทำงานใหม่แบบไม่มีบักกวนใจอีก
ฟอรัมเศรษฐกิจโลก ได้พบกันครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2020 เพื่อประกาศแผนการดำเนินงานที่เรียกว่า การรีเซ็ตครั้งใหญ่ ที่จะเริ่มขึ้นในเดือนมกราคม 2021 โดยเกือบทั้งหมดเกี่ยวข้องกับธุรกิจและการดำเนินธุรกิจทั้งน้อยใหญ่รวมถึงธุรกิจคาสิโนที่เป็นสถานประกอบการและคาสิโนออนไลน์
กลยุทธ 4
คลอส-ชแวบ ผู้อำนวยการบริหารฟอรัมเศรษฐกิจโลก ได้กล่าววิงวอนให้ธุรกิจได้เปลี่ยนวิธีการดำเนินงานด้วยการอนุรักษ์สภาพอากาศและธรรมชาติตามนโยบายความยั่งยืนปี 2030 ของสหประชาชาติ ซึ่งฟอรัมเศรษฐกิจโลกได้สรุปว่า ความเสี่ยงธุรกิจนั้นเกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศและสภาพแวดล้อม และได้จัดลำดับแก้ไขความเสี่ยงไว้ใน 4 หัวข้อนี้ ดังนี้:
- World Wide Fund (WWF),
- New Deal for Nature (NDN),
- Nature Action Agenda (NAA) และ
- 4 Industrial Revolutions (4IR)
โลกจะต้องร่วมมือกันอย่างเร่งด่วนเพื่อเปลี่ยนโฉมการทำธุรกิจใหม่ในทุกด้าน ตั้งแต่การซื้อ การผลิต โลจิสติกส์ ไปจนถึงการขาย ทุกประเทศโดยเฉพาะประเทศผู้นำไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา หรือ จีน ต้องมีส่วนร่วมเข้าแก้ปัญหากการพาณิชย์โลกในทุก ๆ ด้าน ตั้งแต่การค้าน้ำมันและก๊าซต่าง ๆ ไปจนถึงเทคโนโลยี แบบไม้จิ้มฟันยันเรือรบ โดยเริ่มต้นการ 'รีเซ็ตครั้งใหญ่' ที่ระบบทุน (WWF) ตามด้วยเรื่องข้อตกลงใหม่ทางธรรมชาติ(NDN) วาระปฏิบัติทางธรรมชาติ (NAA) และ การปฏิวัติอุตสาหกรรม 4 ประการ (4IR)
ปัญหาและการแก้ปัญหา

มาร์โค-ลัมเบอร์ตินิ ผู้อำนวยการใหญ่กองทุนนานาชาติ (WWF) ได้กล่าวว่า:
“โลกกำลังสร้างความเสียหายต่อธรรมชาติอย่างใหญ่หลวงอันเป็นอันตรายต่อการทำธุรกิจและทำให้เศรษฐกิจของโลกตกอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะทรุดตัวลงจนไม่อาจอยู่รอดได้ และเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2021 ทุกรัฐบาลและทุกภาคธุรกิจ ต้องมุ่งมั่นที่จะช่วยการหยุดยั้งการทำลายและร่วมมือกันฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นใหม่กันอย่างจริงจัง”
ฟอรัมเศรษฐกิจโลกได้ทำการวางแผนและมีการพูดคุยกันอย่างกว้างขวางมาหลายปีแล้ว ทั้งเรื่อง WWF, NDN, NAA และ 4IR โดยได้ทำการสรุปแผนในระหว่างการประชุมฟอรัมเศรษฐกิจโลกที่กรุงดาวอสเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2020 ซึ่งในวันรุ่งขึ้น ทางองค์การอนามัยโลกก็ได้ประกาศให้ โควิด-19 ตกอยู่ในภาวะฉุกเฉินและความกังวลระหว่างประเทศ ที่ทำให้โลกต้องประสบกับความหายนะเชิงเศรษฐกิจจากการระบาดของโรค ธุรกิจหลายแห่งต้องพบกับการล็อกดาวน์ บางธุรกิจต้องอยู่ในพื้นที่เคอร์ฟิวเป็นระยะยาวนาน ต่อมาเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2020 ฟอรัมเศรษฐกิจโลกจึงได้ประกาศความร่วมมือกับทางองค์การอนามัยโลกโดยจัดตั้ง COVID Action Platform สำหรับธุรกิจขึ้นเพื่อรับมือกับโควิด-19 ที่เป็นทั้งวิกฤตและ:
- “โอกาสทอง” เชิงเศรษฐกิจ อีกทั้งยังเป็น
- "คลื่นกระแทก" ลูกใหญ่ที่จะทำให้ผู้คนเปิดใจกว้างมากขึ้นต่อการรับการรีเซ็ตครั้งใหญ่
ต่าง ๆ เหล่านี้ ฟอรัมเศรษฐกิจโลกมองว่าจะทำให้การผลักดันนโยบาย 4 ประการทั้ง WWF, NDN, NAA และ 4IR สะดวกยิ่งขึ้น และจะได้รับความร่วมมือจากประเทศสมาชิกมากขึ้น ซึ่งผู้อำนวยการใหญ่ องค์การอนามัยโลก นายแพทย์ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ได้ออกมากล่าวเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2020 ว่า “การระบาดของ COVID-19 ทำให้เกิดแรงผลักดันใหม่ที่ต้องการเร่งดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก”
เริ่มต้นใหม่

ฟอรัมเศรษฐกิจโลกเห็นว่า ปัญหาสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เป็นปัญหาใหญ่ที่คุกคามมวลมนุษย์เราอย่างมาก คลอส-ชแวบ และคณะ เชื่อว่าเศรษฐกิจที่ผลักดันให้เกิดการบริโภคเกินความจำเป็นร่วมกับการใช้พลังงานและวัตถุดิบอย่างไร้ประสิทธิภาพและมากเกินไป เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายของระบบเศรษฐกิจโลกที่คุกคามความอยู่รอดของมนุษย์ โครงการรีเซ็ตครั้งใหญ่ที่ฟอรัมเศรษฐกิจโลกนำเสนอ จึงเป็นแนวทางการทำธุกิจที่ให้ความเคารพต่อธรรมชาติอย่างจริงจังเพื่อคืนความสมดุลให้ธรรมชาติและให้มนุษย์อยู่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปได้และเป็นสิ่งที่ทำกันได้ การรีเซ็ตเป็นการคิดใหม่ทำใหม่บนพื้นฐานของความคิดที่ปรารถนาจะเห็นสิ่งแวดล้อมที่สะอาดน่าอยู่
ข้อเสนอของการรีเซ็ตครั้งใหญ่ของฟอรัมเศรษฐกิจโลก จึงเป็นการในการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม รวมถึงความมุ่งมั่นที่จะลดพฤติกรรมการทำลายและทำร้ายธรรมชาติ โดยการตั้งหรือรีเซ็ตให้ปี 2020 เป็นศูนย์ เพื่อจะได้เริ่มต้นกันใหม่ในปี 2021 ให้เห็นผลลัพท์ที่เป็นบวกในปี 2030 และการฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์ในปี 2050 นอกจากนี้ การรีเซ็ตครั้งใหญ่ยังเน้นย้ำการเพิ่มพื้นที่ธรรมชาติด้วยการอนุรักษ์ป่า และป้องกันการสูญพันธุ์ของทั้งพืชและสัตว์
สรุป
แน่นอน การรีเซ็ตครั้งใหญ่ เป็นสิ่งที่ดีต่อการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมโดยตรง ซึ่งจะส่งผลดีต่อธุรกิจโดยรวมในทางอ้อมทั้งระยะสั้น กลาง และยาว แต่ก็ดูจะเป็นสิ่งที่พูดง่ายกว่าทำ เพราะนโยบายระดับโลกเช่นนี้ นายมาร์โค-ลัมเบอร์ตินิ ผู้อำนวยการใหญ่กองทุนนานาชาติ (WWF) เองก็ได้กล่าวไว้ว่า ต้องการความร่วมมือจากทุกประเทศโดยเฉพาะประเทศผู้นำอย่างอเมริกาและจีน เราก็ทราบทันทีว่าเรากำลังเข็นครกขึ้นภูเขาเพราะก็เป็นที่ทราบกันดีว่า:
• อเมริกาได้ถอนตัวออกจากข้อตกลงกรุงปารีส ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ยูเอ็นเอฟซีซีซี) เพื่อกำหนดมาตรการลดการปล่อยสารคาร์บอนไดออกไซด์ที่เริ่มตั้งแต่ปี 2020
• อเมริกาได้ถอนตัวจากออกการเป็นสมาชิกองค์การอนามัยโลก โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2021
แต่ก็เป็นที่น่ายินดีว่า ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐที่กำลังจะผ่านพ้นไปนั้น คาดว่า นายโจเซฟ ไบเด้น จะได้ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐ ซึ่งท่านก็ได้ประกาศชัดเจนในนโยบายการหาเสียงไว้ว่าจะกลับเข้าสู่ข้อตกลงกรุงปารีส และการเป็นสมาชิกองค์การอนามัยโลกอีกครั้งหนึ่ง และถ้าท่านจะรักษาคำพูดไว้ตอนหาเสียง ก็จะเป็นแรงผลักดันที่สำคัญที่จะทำให้การรีเซ็ตครั้งใหญ่ของฟอรัมเศรษฐกิจโลกประสบความสำเร็จลุล่วงไปได้