ความหวังต่อสิ่งแวดล้อมได้รับการต่ออายุในปี 2564

ดาวเทียมเคลื่อนไหวที่เชื่อมต่อกับโลก

แหล่งที่มา: Pixabay

การเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดี โจ-ไบเดน ในเดือนมกราคม 2564 ได้ตามมาด้วยคำสั่งใหม่ ๆ ของการบริหารงานของท่านประธานาธิบดีท่านใหม่ที่ออกมาเป็นระลอก ๆ ภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากเข้ารับตำแหน่ง โจ-ไบเดน ได้กลับเข้าร่วมกับ “ข้อตกลงด้านสภาพภูมิอากาศของกรุงปารีส” อีกครั้ง และกลับสู่จุดยืนเดิมของทำเนียบขาวเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ซึ่งฝ่ายบริหารของทรัมป์ได้ถอดถอนทิ้งไป นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนทั่วโลกได้ถอนหายใจกันเฮือกใหญ่ด้วยความโล่งใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการลงนามในคำสั่งยกเลิก โครงการก่อสร้างท่อส่งน้ำมันดิบ คีย์สโตน เอ็กซ์แอล (Keystone XL Pipeline) ขนาดยักษ์ ข้ามจากแคนาดามายังสหรัฐ ในวันแรก ๆ ที่ โจ-ไบเดน เข้ารับตำแหน่งผู้นำประเทศอย่างเป็นทางการ และเลื่อนการชำระหนี้การขุดเจาะน้ำมันและก๊าซในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งชาติอาร์กติกที่น่านน้ำอาร์กติกและทะเลแบริ่งออกไป

การเปลี่ยนแปลงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนี้ มีความสอดคล้องกับนโยบายของประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ดังที่ได้สะท้อนให้เห็นใน ข้อตกลงด้านสภาพภูมิอากาศของกรุงปารีส ในขณะที่การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เป็นอยู่ ได้ช่วยลดระดับคาร์บอนโลกลง จากการลดการเดินทางและบังคับให้ผู้คนต้องทำงานที่บ้าน และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมงานอดิเรกที่ชื่นชอบจากออฟไลน์ เช่น โยคะและฟิตเนส ไปเป็นออนไลน์ เช่น ดูโทรทัศน์ และเล่นเกมคาสิโนออนไลน์ (online casino)

ส่วนขยายไปป์ไลน์คีย์สโตน เอ็กซ์แอล (Keystone XL Pipeline): การเพิกถอนใบอนุญาต

ส่วนขยายไปป์ไลน์คีย์สโตน เอ็กซ์แอล (Keystone XL Pipeline) ได้สร้างความขัดแย้งและข้อถกเถียงกันตั้งแต่เริ่มต้น โดยโครงการเจ้าปัญหานี้ ได้ถูกปฏิเสธโดยรัฐบาลของโอบามาในเดือนพฤศจิกายน 2558 ซึ่งยอมรับว่าโครงการมีภัยอันตราย คุกคามสภาพภูมิอากาศ สร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศ แหล่งน้ำดื่ม และสุขภาพของประชาชนอย่างแพร่หลาย แต่ โดนัลด์-ทรัมป์ กลับไฟเขียวอนุญาตให้เดินหน้าโครงการก่อสร้างท่อส่งน้ำมันดิบขนาดยักษ์ดังกล่าว มาถึงตอนนี้ ประธานาธิบดี โจ-ไบเดน ได้ทำการยกเลิกโครงการส่วนขยายไปป์ไลน์คีย์สโตน เอ็กซ์แอลอีกครั้งหนึ่ง ชุมชนท้องถิ่นและกลุ่ม First Nations หลายแห่งในแถบเหนือของรัฐอัลเบอร์ตาต่างแสดงออกถึงความพอใจกับการยกเลิกโครงการ ซึ่งหน่วยงานอิสระอย่างกรีนพีซก็ได้ทำงานอย่างแข็งขันเพื่อหยุดท่อส่งน้ำมันมาหลายปี ก็ออกมาแสดงความยินดีเช่นเดียวกัน

ข้อถกเถียงของโครงการก่อสร้างท่อส่งน้ำมันดิบ

ท่อส่งน้ำมันดิบดังกล่าว เป็นส่วนขยายเพิ่มเติมจากท่อส่งน้ำมันดิบที่มีอยู่เดิมที่เรียกว่า คีย์สโตน ที่ได้ใช้เส้นทางวางท่อตรงเพื่อทำการขนส่งน้ำมันดิบจากรัฐอัลเบอร์ตาในแคนาดาไปยังอ่าวเม็กซิโกในสหรัฐ ส่วนโครงการ XL ซึ่งมี TransCanada เป็นเจ้าของ มีจุดมุ่งหมายที่จะเพิ่มการขนส่งน้ำมันดิบจากแคนาดาไปยังโรงกลั่นน้ำมันของสหรัฐฯ ซึ่งแคนาดาได้ส่งน้ำมันไปยังสหรัฐฯแล้ว 550,000 บาร์เรลต่อวันผ่านทางท่อ Keystone ที่มีอยู่ ปริมาณน้ำมันที่เพิ่มขึ้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการพึ่งพาการสั่งเข้าน้ำมันของสหรัฐอเมริกาจากประเทศแถบตะวันออกกลาง ลดราคาน้ำมันในประเทศลง และสร้างงานให้แรงงานก่อสร้าง 28,000 ตำแหน่ง ข้อมูลส่วนใหญ่เหล่านี้ ล้วนไม่ได้รับการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญ ในขณะที่ผู้สนับสนุนโครงการยอมรับถึงผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ก็ยังโต้แย้งว่า ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร น้ำมันก็จะต้องถูกผลิตและจัดส่งออกจากแคนาดาวันยันค่ำอยู่ดี ดังนั้น จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะระงับโครงการไม่ให้ดำเนินต่อไป

ข้อโต้แย้งมากมายเกี่ยวกับ

ปัญหาเกี่ยวกับท่อส่งก๊าซมีหลายประการ:

ประการแรกและสำคัญที่สุด ท่อขนส่งจะทำการขนส่งน้ำมันชนิดทาร์แซนด์ ซึ่งเป็นน้ำมันดิบที่มีความสกปรกมากที่สุด น้ำมันทาร์แซนด์มีความเหนียวหนืดและความเป็นกรดมากกว่าน้ำมันดิบทั่วไป ซึ่งจะเพิ่มโอกาสของการรั่วไหลขณะทำการขนส่งโดยการรั่วไหลก็ได้เคยเกิดขึ้นจริงแล้วสิบกว่าครั้ง นับตั้งแต่เริ่มใช้งานท่อส่งคีย์สโตนเดิมที่มีอยู่ และความเสี่ยงของการรั่วไหลนี้ ก็ดูจะเป็นไปได้อย่างสูง จากความล่าช้าในการดำเนินงานของโครงการ เนื่องจากท่อถูกวางไว้กลางแจ้งเป็นเวลานานภายใต้องค์ประกอบที่เหมาะต่อการผุกร่อน: คือสารเคลือบป้องกันการกัดกร่อนอาจเสื่อมไปบ้างแล้วในเวลานี้

ประการถัดไป การผลิตน้ำมันดินทราย จะมีการทำลายพื้นที่ส่วนใหญ่ของป่าเหนืออัลเบอร์ตา โดยโครงการนี้จะสร้างข้ามพื้นที่ทางการเกษตรสำคัญ ๆ แม่น้ำ ลำธาร ชั้นหินอุ้มน้ำ และแหล่งน้ำอีกหลายร้อยแห่ง หนึ่งในนั้นคือแหล่งน้ำ Ogallala ที่ให้น้ำดื่มแก่ชาวอเมริกันหลายล้านคน และเป็นแหล่งน้ำชลประทานร้อยละสามสิบของประเทศ การรั่วไหลลงสู่แหล่งน้ำแห่งนี้ จะสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์และสัตว์เป็นอย่างมาก

ประการที่สาม จำนวนงานที่จะเกิดจากโครงการไปป์ไลน์ Keystone XL นั้น ก็เป็นการพูดเกินความไปจริงอย่างมาก ซึ่งความจริงนั้น โครงการทรานส์แคนาดานี้ คงจะจ้างงานเพิ่มได้ประมาณ 1,000 คน แต่แม้จะมีการจ้างแรงงานก่อสร้างเพิ่มจำนวนมาก งานเหล่านี้ก็เป็นเพียงงานชั่วคราว โดยมีเพียง 35 ตำแหน่งที่จะเป็นงานถาวรเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ

ประธานาธิบดี มีจุดหมายให้กลับมาใช้พลังงานสะอาด

สำหรับโลกแล้ว การยกเลิกโครงการไปป์ไลน์คีย์สโตน เอ็กซ์แอล ถือเป็นข่าวดี สอดคล้องกับ ข้อตกลงด้านสภาพภูมิอากาศของกรุงปารีส การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงทิศทางทางการเมืองใหม่ในสหรัฐอเมริกาที่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจพลังงานสะอาดและการสร้างงานสีเขียว คำสั่งของประธานาธิบดี โจ-ไบเดน ระบุว่า“อเมริกาจะต่อสู้กับวิกฤตสภาพภูมิอากาศโดยมีแผนเชิงรุก และจะกลับมาใช้แบบแผนที่จะลดการปล่อยมลพิษที่เป็นอันตรายและสร้างงานพลังงานสะอาดที่ดี การบริหารงานภายในประเทศของเรา จะต้องไปพร้อมกันกับความต้องการของโลก”

คาสิโนออนไลน์ พบภาวะขาดแคลน Qualcomm ไมโครชิพ ทำงานจากที่บ้าน: คุณได้จัดเตรียมดีแค่ไหนแล้ว