วัยรุ่นคือหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต

 เฟสบุ๊ค

แหล่งที่มา: Photo by Glen Carrie on Unsplash

ข้อความข้างต้นดูจะเป็นคำจำกัดความหลักที่ใช้กล่าวถึง “วัยรุ่น” กันมาทุกยุคทุกสมัย เพราะนี่คือวัยที่เริ่มห่างไกลจากครอบครัว (แม้ตัวจะอยู่ใกล้กัน) เป็นวัยที่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทั้งภายในอย่างฮอร์โมนที่เริ่มเติบโตจนพลุ่งพล่าน ร่างกายที่เปลี่ยนไปในทางแปลกใหม่ด้วยความเติบโต จิตใจที่เริ่มเสาะแสวงหาที่ทางให้ตัวตนอย่างเข้มข้น รวมทั้งปัจจัยภายนอกอย่างสังคมที่เปลี่ยนไปตามช่วงวัยที่เปลี่ยนแปลงนี้

ดังนั้น แม้ในด้านหนึ่งวัยรุ่นจะเป็นช่วงวัยที่คนคิดว่าสนุกสุดเหวี่ยงที่สุด เพราะเป็นวัยแห่งการแสวงหาอันเต็มที่โดยไม่มีอะไรให้ต้องรับผิดนัก (ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็ไม่รู้ยังจริงไหม เพราะดูเหมือนวัยรุ่นจะต้องคิดถึงอนาคตเร็วขึ้นทุกวัน จนแทบไม่มีเวลากับปัจจุบันแล้ว) แต่ในขณะเดียวกัน วัยรุ่นก็เป็นช่วงวัยที่ต้องเผชิญกับความเครียดมหาศาล แม้ว่าพวกเขายังไม่ต้องรับผิดชอบตัวเองทั้งหมดอย่างผู้ใหญ่ก็ตาม (แน่นอนว่าวัยรุ่นที่ต้องรับผิดชอบก็มี ซึ่งวัยรุ่นในสภาวะแบบนั้นก็คงต้องแบกรับความเครียดไม่ต่างจากผู้ใหญ่เช่นกัน)

เราเห็นวัยรุ่นตามโลกออนไลน์ได้ในทุกที่  (แต่ไม่มีวัยรุ่นในคาสิโนออนไลน์ JackpotCity เพราะที่นี่เราเข้มงวดเรื่องการจำกัดอายุอย่างเคร่งครัด!) และที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะโลกออนไลน์แห่งนี้มีอะไรมากมายให้พวกเขาได้ใช้เวลาด้วยอยู่เสมอ ผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ปี พ.ศ. 2562 ซึ่งจัดทำโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่า ประชากรอายุต่ำกว่า 19 ปีใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยวันละ 10 ชั่วโมง 35 นาที ในขณะที่ประชากรกลุ่มอายุ 19-38 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีชั่วโมงการใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยมากกว่าทุกกลุ่มที่ 10 ชั่วโมง 36 นาที นั่นก็หมายความว่า วัยรุ่นเป็นกลุ่มประชากรที่ใช้อินเทอร์เน็ตเยอะเป็นดับสอง แถมโดยเฉลี่ยแล้วเป็นรองอันดับ 1 เพียง 1 นาทีเท่านั้นเอง!

ข้อกังวลต่อการใช้เทคโนโลยีของวัยรุ่น

อะไรมากไปก็ไม่ดี คำนี้ใครๆ ก็พูดกัน ชั่วโมงการใช้อินเทอร์เน็ตของวัยรุ่นก็ดูจะเป็นหนึ่งในนั้น (จริงไหมนะ?) หลายฝ่ายดูจะกังวลต่อการใช้เทคโนโลยีด้านนี้และออกมาเตือนถึงปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งในภาพรวมนั้น กรมสุขภาพจิตเปิดเผยผลการเก็บสถิติจากปี พ.ศ. 2562 ว่า วัยรุ่นนั้นประสบปัญหาความเครียดและความวิตกกังวลมากเป็นอันดับ 1

ขณะเดียวกัน ก็มีรายงานในต่างประเทศออกมาให้เห็นกันบ่อยๆ มาตลอดตั้งแต่โซเชียลมีเดียเป็นที่นิยม เช่นรายงานของ Education Policy Institute และ The Prince's Trust ที่บอกว่าโซเชียลมีเดียนั้นสร้างความเสียหายแก่สุขภาพจิตของวัยรุ่นในด้านต่างๆ

รายงานดังกล่าวระบุว่า เด็กหญิงอายุ 14 จำนวน 1 ใน 3 คนมีความไม่พึงพอใจในรูปลักษณ์ของตัวเอง, จำนวนวัยรุ่นที่อาจมีปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 6 คนจากเดิมอยู่ที่ 1 ใน 9 คนเมื่อปี พ.ศ. 2560, เด็กประถมชายที่อยู่กลุ่มล่างสุดของการสำรวจมีความเชื่อมั่นในตัวเองต่ำกว่าเด็กอายุ 14 ปีทั่วไปในการสำรวจเดียวกัน และยังระบุด้วยว่า ไม่ว่าเดิมทีสุขภาพจิตของวัยรุ่นจะเป็นอย่างไร แต่การใช้โซเชียลมีเดียอย่างหนักนั้นมีความเชื่อมโยงกับความมั่นใจที่ต่ำและความเป็นอยู่ที่ไม่ดี (ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่, หมายเหตุ: ภาษาอังกฤษ)

ในไทยเองเราก็คงได้เห็นอยู่บ่อยๆ ถึงความกังวลต่อการใช้เทคโนโลยีของวัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นตามโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่เริ่มตั้งแต่เฟซบุ๊ก จนมาถึงอินสตาแกรม ทวิตเตอร์ และติ๊กต็อก ซึ่งในมุมมองทางผู้ทำงานด้านสุขภาพจิตก็แสดงความกังวลไม่ต่างจากในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเรื่องของการตัดขาดตัวเองออกจากสังคมในโลกจริง, การขาดความเชื่อมั่นในตัวเองเพราะเห็นชีวิตดีๆ ของคนอื่นในโซเชียลมีเดียมากไป, การสูญเสียความสามารถในการสื่อสารกับผู้อื่นอย่างเหมาะสม เพราะในโซเชียลมีเดีย (โดยเฉพาะบางตัว) นั้นทุกคนคล้ายสวมผ้าคลุมล่องหนจนอยากสื่อสารอย่างไรก็ได้ เหล่านี้มักแสดงสรุปรวบยอดออกมาในคำคำเดียว คือ “สังคมก้มหน้า”

นี่ยังไม่ต้องนับถึงความกังวลเรื่องรอยเท้าดิจิทัล (digital footprint) อันหมายถึงร่องรอยต่างๆ ที่เราทิ้งไว้บนอินเทอร์เน็ต ทั้งพฤติกรรม การแสดงความคิดเห็น หรือกระทั่งข้อมูลส่วนตัวที่ทำให้ระบุตัวตนหรือกระทั่งสถานที่ที่เราอยู่ได้

นอกจากนี้ อีกความกังวลหนึ่งที่มักมีต่อการใช้เทคโนโลยีของวัยรุ่น ก็คงไม่พ้นเรื่องราวของการเล่นเกม ที่แม้วงการอีสปอร์ตจะเริ่มเติบโตในไทย แต่ส่วนใหญ่การเล่นเกมก็ยังถูกมองว่าเป็นเรื่องเสียเวลาไร้สาระ ไปจนถึงอาจเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกืดความรุนแรงด้วย

ผู้ที่มีโทรศัพท์มือถือ

แหล่งที่มา: Unsplash

มุมมองของวัยรุ่น

ที่กล่าวไปข้างต้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นมุมมองของ “ผู้ใหญ่” แต่ถ้าเรามองจากมุมมองของวัยรุ่นแล้ว โซเชียลมีเดียมีความหมายกับพวกเขาในแง่มุมที่ต่างไป

สำหรับวัยรุ่น นี่คือที่ทำให้พวกเขาสามารถติดตามเรื่องต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถ “ทันโลกได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส” นอกจากนี้ หลายคนยังมีโซเชียลมีเดียเป็นพื้นที่สำหรับการแสดงตัวตนให้คนได้รับรู้ ซึ่งถ้าเราตัดเรื่อง “ความเหมาะสม” ออกไปก่อน เราจะเห็นเนื้อแท้ว่าโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางสำคัญที่ตอบสนองสิ่งหนึ่งซึ่งคนวัยนี้กำลังต้องการ นั่นก็คือการมีตัวตน ไม่ว่าจะด้วยการแสดงความคิดเห็น หรือการทำคลิปวิดีโอรูปแบบต่างๆ ของตัวเอง

ยิ่งไปกว่านั้น สำหรับวัยรุ่นหลายคน โซเชียลมีเดียยังเป็นได้ถึงขั้นช่องทางสร้างเนื้อสร้างตัว ไม่ว่าจะด้วยการทำ vlog ภายใต้เนื้อหาต่างๆ การไลฟ์สด การสตรีมเกม หรือกระทั่งนักกีฬาอีสปอร์ต ซึ่งเหล่านี้ทำให้หลายคนกลายเป็นวัยรุ่นเงินล้านมานักต่อนัก

แล้วเทคโนโลยีเหล่านี้มีปัญหาจริงหรือ

คุณผู้อ่านอาจประหลาดใจ หรือกระทั่งเบ้หน้าใส่ว่า ในขณะที่พูดถึงความกังวลต่อโซเชียลมีเดียนั้น เรามีข้อมูลอ้างอิงมากมายมาให้ประกอบการอ่าน แต่พอพูดถึงด้านดีอย่างในหัวข้อที่แล้ว เรากลับไม่มีอะไรเลยนอกจากสิ่งที่ดูคล้ายความคิดเห็นมากกว่าจะเป็นข้อมูลหรือกระทั่งข้อเท็จจริง

ในเชิงของการเขียน นั่นอาจดูเป็นการนำเสนอโดยให้น้ำหนักกับสองด้านไม่เท่ากันอย่างไม่ต้องสงสัย

แต่ในเชิงของการหาข้อมูลแล้ว เรื่องนี้เกิดขึ้นก็เพราะว่า เมื่อได้พยายามหาข้อมูลภาษาไทยถึงข้อดีของเทคโนโลยีเหล่านี้ โดยเฉพาะที่เป็นมุมมองของวัยรุ่น ผลที่ได้คือการค้นหาไม่พบ

ซึ่งนั่นหมายความว่า เรายังพูดคุยกันเรื่องนี้โดยให้ความสำคัญกับมุมมองของวัยรุ่นน้อยไป หรือที่แย่กว่านั้นคือไมได้ให้ความสำคัญเลย จนนี่อาจทำให้โซเชียลมีเดียกลายเป็นช่องว่างระหว่างวัยช่องใหม่ ที่แทรกตัวขึ้นมาขัดขวางความเข้าใจที่วัยรุ่นและผู้ใหญ่ควรได้มีต่อกันและกัน

แต่ทีนี้ อย่างไรเสียข้อดีของเทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียดังที่กล่าวไป ก็คงเป็นสิ่งที่หลายท่านได้พบประสบกับตัวเองมา

ดังนั้น อย่างหนึ่งที่เราน่าจะบอกได้ก็คือ โซเชียลมีเดียและเทคโนโลยีเหล่านี้ต่างมีทั้งด้านดีและไม่ดี หรือในอีกทางหนึ่งคือ พวกมันสามารถ “เป็นได้ทุกอย่าง”

แล้วอะไรคือความหมายของการเป็นได้ทุกอย่าง?

สิ่งใดเป็นได้ทุกอย่าง สิ่งนั้นก็ไม่ได้เป็นสิ่งใดเลยอย่างไรล่ะ

เทคโนโลยีเป็นเพียงทางลำเลียง

ไม่ว่าจะพูดถึงข้อดีหรือข้อเสียจากการใช้เทคโนโลยีหรือโซเชียลมีเดีย ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของผู้ใช้ เรื่องน่าแปลกใจก็คือ เรามักตั้งเป้ามองไปในทันทีว่า ตัวเทคโนโลยีหรือโซเชียลมีเดียนั้นเป็น “ประธาน” ที่มาทำ “กิริยา” บางอย่างกับ “กรรม” อย่างผู้ใช้

แต่ถ้าพูดกันอย่างที่สุด เราเห็นได้ชัดตั้งแต่ในระดับของภาษา คือ “เรา-ใช้-เทคโนโลยี/โซเชียลมีเดีย” (ประธาน-กิรินิยา-กรรม)

ดังกล่าวไปในย่อหน้าที่แล้วว่า การที่เทคโนโลยี/โซเชียลมีเดียดูจะเป็นได้ทุกสิ่ง ความหมายที่แท้จริงของลักษณะเช่นนี้ก็คือตัวมันไม่ได้เป็นสิ่งใดเลย นั่นก็คือ ลำพังตัวเทคโนโลยี/โซเชียลมีเดียเอง ไม่น่าจะมีความเข้มแข็งในลักษณะของการเป็น “สาเหตุ” ให้สิ่งใด

ทั้งที่เวลาพูดถึงเทคโนโลยี/โซเชียลมีเดียในลักษณะข้างต้น เราต่างพูดถึงผลกระทบที่มีต่อมนุษย์ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นขึ้น เราไม่ได้คำนึงถึงตัวมนุษย์เอง พวกเขาเป็นอย่างไรมาก่อนเริ่มใช้โซเชียลมีเดีย และสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากใช้เทคโนโลยี/โซเชียลมีเดีย มีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยก่อนใช้นั้นอย่างไร

ดังนั้น เทคโนโลยี/โซเชียลมีเดีย อาจไม่ใช่ “ตัวการ/สาเหตุ” ของทั้งเรื่องดีและเรื่องไม่ดีที่เกิดขึ้นจากการใช้ แต่ตัวการ/สาเหตุที่แท้จริง อาจอยู่ปัจจัยทางสุขภาพจิตหรือพฤติกรรมที่ผู้ใช้มีอยู่มาก่อนใช้เทคโนโลยี/โซเชียลมีเดีย ในขณะที่ตัวเทคโนโลยี/โซเชียลมีเดีย เป็นเพียงแค่เส้นทางลำเลียง เป็นตัวเร่ง หรือบางกรณีก็อาจเป็นตัวยับยั้งปัจจัยทางสุขภาพจิตและพฤติกรรมเหล่านั้นก็ได้

เมื่อมองอย่างนี้ บางทีเราอาจต้องตั้งคำถามแต่ต้นในเรื่องปัญหาสุขภาพจิต ไม่ว่าจะของวัยรุ่นหรือของใคร กับการใช้เทคโนโลยี/โซเชียลมีเดีย โดยหันไปหาสาเหตุที่แท้จริงมากขึ้น นั่นก็คือ ปัจจัยทางสุขภาพจิตและพฤติกรรมของคนเรา ซึ่งเหล่านี้ถูกหล่อหลอมจากสังผมรอบข้างมาแต่ต้น ก่อนที่คนจะเริ่มใช้เทคโนโลยี/โซเชียลมีเดียเสียอีก

 

อุปกรณ์ที่ดีที่สุดในการเล่นคาสิโนออนไลน์ อินเทอร์เน็ตนั้นสำคัญไฉน