สมาร์ทซิตี้กำลังจะมา?

Thailand

แหล่งที่มา: Pixabay

คาสิโนออนไลน์ JackpotCity ไปแอบได้ข่าวมาว่า คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก  (กพอ.) กำลังวางแผนจะสร้างสมาร์ทซิตี้ขึ้นในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี (EEC — East Economic Corridor) ของไทย และเมืองที่ว่านั้นก็ไม่ใช่เป็นเมืองที่สร้างขึ้นมาใหม่ แต่ใช้ทรัพยากรเดิมที่มีอยู่แล้วอย่างตำบลบ้านฉาง จังหวัดระยอง มาเสริมด้วยเทคโยโลยีใหม่ๆ และขับเคลื่อนด้วยโครงข่าย 5G เพื่อเปลี่ยนเมืองเดิมชื่อคุ้นแห่งนี้ให้กลายเป็นสมาร์ทซิตี้นั่นเอง

สมาร์ทซิตี้คืออะไร

สมาร์ทซิตี้ หรือหากแปลแบบไทยๆ (ที่มีคำว่าสมาร์ทที่ไหนเราจะใช้คำว่าอัจฉริยะที่นั่น) ก็คือเมืองอัจฉริยะ เป็นคำคำหนึ่งที่ได้รับการพูดถึงกันมาสักพักในโลกที่กำลังก้าวเข้าสู่ยุค Internet of Things (IoT) ซึ่งเป็นโลกที่พลังของอินเทอร์เน็ตถูกยกระดับขึ้นไปอีกขึ้น โดยไม่ได้มีไว้เพื่อความสะดวกสบายหรือความสนุกบันเทิงอีกต่อไป แต่จะกลายเป็นขุมพลังที่มีส่วนช่วยในการบริหารจัดการห้องสักห้อง บ้านสักหลัง หรือกระทั่งเมืองสักเมือง อย่างบูรณาการ

แต่สมาร์ทซิตี้คืออะไร?

ตามคู่มือการจัดทำแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ที่เผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) เมืองอัจฉริยะหรือสมาร์ทซิตี้ก็คือ

“เมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรของเมืองและประชากรเป้าหมาย โดยเน้นการออกแบบที่ดี และการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและภาคประชาชนในการพัฒนาเมือง ภายใต้แนวคิดการพัฒนา เมืองน่าอยู่ เมืองทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มี ความสุข อย่างยั่งยืน”

องค์ประกอบของการเป็นสมาร์ทซิตี้

นอกจากความหมายแล้ว ทาง DEPA ยังได้กำหนดองค์ประกอบ 7 ประการของการเป็นเมืองที่จะได้ชื่อว่า “อัจฉริยะ” เอาไว้ดังนี้

(1) สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) หมายความว่า เมืองที่คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เช่น การจัดการน้ำ การดูแลสภาพอากาศ การบริหารจัดการของเสีย และการเฝ้าระวังภัยพิบัติ ตลอดจนเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

(2) เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) หมายความว่า เมืองที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจและบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เมืองเกษตรอัจฉริยะ เมืองท่องเที่ยวอัจฉริยะ เป็นต้น

(3) ขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) หมายความว่า เมืองที่มุ่งเน้นพัฒนาระบบจราจรและขนส่งอัจฉริยะเพื่อขับเคลื่อนประเทศ โดยเพิ่มประสิทธิภาพและความเชื่อมโยงของระบบขนส่งและการสัญจรที่หลากหลาย เพิ่มความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางและขนส่ง รวมถึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

(4) พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) หมายความว่า เมืองที่สามารถบริหารจัดการด้านพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความสมดุลระหว่างการผลิตและการใช้พลังงานในพื้นที่ เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงาน และลดการพึ่งพาพลังงานจากระบบโครงข่ายไฟฟ้าหลัก

(5) พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) หมายความว่า เมืองที่มุ่งพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจ ตลอดจนเปิดกว้างสำหรับความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และการมีส่วนร่วม

(6) การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) หมายความว่า เมืองที่มีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก โดยคำนึงถึงหลักอารยสถาปัตย์ (Universal Design) ให้ประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี มีความปลอดภัย และมีความสุขในการดำรงชีวิต

(7) การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance) หมายความว่า เมืองที่พัฒนาระบบบริการภาครัฐ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการของภาครัฐ โดยมุ่งเน้นความโปร่งใสและการมีส่วนร่วม และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องผ่านการประยุกต์ใช้นวัตกรรมบริการ

สรุปอีกทีว่าสมาร์ทซิตี้คืออะไร

หากดูจากความหมายและองค์ประกอบข้างต้นแล้ว เราน่าจะบอกได้ว่าสมาร์ทซิตี้ก็คือเมืองที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยในการพัฒนาผู้คน สังคม สิ่งแวดล้อม (ทั้งทางธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น) รวมทั้งการบริหารจัดการของเมือง และการเข้าถึงบริการภาครัฐ ให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว ครอบคลุม มีประสิทธิภาพ และยั่งยืน

แล้วสมาร์ทซิตี้จะเป็นจริงได้อย่างไร?

นี่คือยุคของข้อมูลข่าวสาร ยุคที่ข้อมูลข่าวสารไหลเวียนทั้งในปริมาณที่มากและด้วยความเร็วที่สูงจนคำว่า “เรียลไทม์” แทบจะกลายเป็นจุดขายของเทคโนโลยีดิจิทัลทุกชนิดที่ต้องนำความเร็วในการรับส่งข้อมูลมาเป็นจุดขาย

สมาร์ทซิตี้เองก็ต้องการข้อมูลเช่นกัน และข้อมูลนั้นคงต้องมหาศาลระดับบิ๊กดาต้า คือมากมายเกินกว่าที่กำลังและสติปัญญาของมนุษย์จะจัดการเองได้ และนอกจากจะมีที่จัดเก็บ มีการประมวลผลที่ทรงพลัง สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือขุมพลังในการขับเคลื่อนข้อมูล ที่ต้องเป็นไปแบบเรียลไทม์อย่างอยากรู้ปุ๊บก็เห็นได้ปั๊บ ไม่ว่าเราจะเป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจบริหารจัดการเมือง หรือเป็นประชาชนธรรมดาที่อยากเห็นว่าเมืองของเราในตอนนี้เป็นอย่างไร และก็อยากบอกด้วยว่าอยากให้เมืองของเรานี้เป็นอย่างไรในอนาคต

ดังนั้น สิ่งที่จำเป็นและขาดไม่ได้ในที่นี้ก็คือข้อมูลมหาศาลที่รับส่งถึงกันได้อย่างทันท่วงทีแบบเรียลไทม์ เพราะกับเรื่องแบบนี้ บางทีจะแค่มาโทรหากันก็คงทั้งไม่ทันและไม่สมาร์ทแล้ว

5จีจะทำให้บ้านฉางกลายเป็นสมาร์ทซิตี้

การพัฒนาตำบลบ้านฉาง จังหวัดระยอง ให้กลายเป็นสมาร์ทซิตี้ เกิดขึ้นด้วยแนวคิดของเทศบาลตำบลบ้านฉาง ที่ต้องการให้คนในพื้นที่ได้ประโยชน์จากการที่เมืองอยู่ในอีอีซีให้มากที่สุด โดยที่ประเทศชาติได้ที่ดินผืนใหญ่ไปใช้ในการลงทุน และคนในพื้นที่ก็ไม่ต้องย้ายไปอยู่ที่อื่น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นไปภายใต้แนวคิดที่ว่าคนไทยและนักลงทุนไทยจะต้องได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการ ก็จะได้รับสิทธิ์ถือหุ้นตามสัดส่วนของที่ดินที่นำมาเข้าร่วมโครงการด้วย

คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ก็ได้ร่วมมือกับบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จํากัด (มหาชน) หรือเอ็นที เพื่อนำระบบ 5จีมาใช้ในพื้นที่อีอีซี โดยนอกจากเรื่องธุรกิจแล้วจะมีการสร้างให้ตำบลบ้านฉางเป็นเมืองนำร่องด้านสมาร์ทซิตี้ และในการนี้ ก็ได้บริษัทที่เป็นผู้นำเทคโนโลยี 5จีสำหรับอุตสาหกรรมและสมาร์ทซิตี้อย่าง 5G Catalyst Technologies หรือ 5GCT ภายใต้การนำของ แชนนอน — ชาริณี กัลยาณมิตร ผู้ก่อตั้ง Moxy เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซและเว็บไซต์สื่อสำหรับผู้หญิงโดยผู้หญิงในประเทศไทย ที่บัดนี้หวนคืนสู่เส้นทางผู้ประกอบการในฐานะซีอีโอของ 5GCT จะมารับหน้าที่ร่วมกันจัดหาเทคโนโลยีชั้นนำจากทั่วโลกและหลากหลายเพื่อออกแบบ 5จีที่ตอบโจทย์ระบบการบริหารจัดการเมืองใช้งานของเมืองด้วย

และทั้งหมดนี้ ก็คือความคาดหวัง ที่เราจะได้เห็นสมาร์ทซิตี้เกิดขึ้น และไม่ใช่ที่ไหนแต่คือในประเทศไทยของเรานี่เอง

คาสิโนออนไลน์กับเกมพนันไพ่ไทย ADAS คืออะไร?